รูปภาพแบรนเนอร์-จากการจัดอันดับ The Impact Ranking 2023 มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้รับการจัดอันดับจาก The Impact Ranking 2023 ในการเทียบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs)

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้รับการจัดอันดับ 20 ของประเทศไทย ในการเทียบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) จัดอันดับจาก THE : Time Higher Education ประจำปี 2023

ซึ่งมีมหาวิทยาลัยทั่วโลก 1,591 มหาวิทยาลัย จาก 112 ประเทศทั่วโลก อันดับที่ 2 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดได้รับคะแนน SDG 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ Quality Education เป็นอันดับที่ 59 ในระดับโลก และเป็นอันดับที่ 2 ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ ในระดับประเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีแนวคิดเป็นแหล่งความรู้ตลอดชีวิต จัดการเรียนการสอนในระดับปริญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา มีหลักสูตรกว่า 50 หลักสูตรภายใต้คุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา ผลิตบัณฑิตให้มีความผูกพันกับท้องถิ่นและมีความรับผิดชอบต่อสังคม กว่า 20 ปีที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดจึงเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ติดอันดับที่ 601-800 ของโลก
อันดับที่ 20 ของประเทศไทย
อันดับที่ 2 ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

SDG1 อันดับที่ 12 ของประเทศ
SDG3 อันดับ 7 ของประเทศ
SDG4 อันดับ 2 ของประเทศ
SDG15 อันดับ 10 ของประเทศ
SDG17 อันดับ 12 ของประเทศ

SDG-1

เป้าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจนทกุรูปแบบในทุกพื้นที่ (End poverty in all its forms everywhere)
เป็นเป้าหมายที่ว่าด้วยการลดความยากจนทั้งทางเศรษฐกิจ และความยากจนในมิติอื่น ๆ ด้วย (ตามการนิยามของแต่ละประเทศ) ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ทั้งชาย หญิง เด็ก คนยากจน และกลุ่มคนเปราะบาง เป้าประสงค์ของเป้าหมายนี้ครอบคลุมประเด็นการยกระดับรายได้ของผู้คนให้สูงกว่า $1.25 ต่อวัน (1.1) และลดสัดส่วนของความยากจนในมิติต่างๆ ของคนทุกกลุ่มให้เหลือครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 (1.2) เน้นการใช้ระบบและมาตรการคุ้มครองทางสังคม (1.3) และการสร้างหลักประกันในเรื่องสิทธิของการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ บริการพื้นฐาน รวมถึง กรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและทรัพย์สิน (1.4) นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิต้านทานให้กับคนยากจนและเปราะบางจากภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจสังคม และที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศด้วย ในทางนโยบาย เป้าหมายนี้จะเน้นให้มีการช่วยเหลือกันระหว่างประเทศ โดยการระดมทรัพยากรที่หลากหลายไปช่วยประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า เพื่อลงทุนในโครงการที่ขจัดความยากจน (1.a) ให้นโยบายในระดับต่าง ๆ คำนึงถึงความละเอียดอ่อนด้านเพศสภาพและความยากจน (1.b)

SDG-3

เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) ครอบคลุมประเด็นด้านสุขภาพและสวัสดิภาพที่สำคัญหลายประเด็น ตั้งแต่ การลดอัตราการตายของมารดาทั่วโลก (3.1), ยุติการตายที่ป้องกันได้ของทารกแรกเกิด (3.2), ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อน (3.3), ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ (3.4), ประเด็นเรื่องยาเสพติดและแอลกอฮอล์ (3.5), การตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน (3.6), อนามัยการเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว (3.7), การเข้าถึงบริการสาธารณสุขและป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน (3.8) และ ลดการตายและป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้อนและมลพิษต่าง ๆ (3.9) ในทางนโยบาย เป้าหมายที่ 3 จะเน้นไปที่การปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลก โดยเฉพาะเรื่องยาสูบ (3.a), การวิจัยและพัฒนายาและวัคซีน และการเข้าถึงยาและวัคซีนถ้วนหน้าผ่านการผ่อนปรนบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้คนในประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึงยาได้ (3.b), สร้างและรักษากำลังคนด้านสุขภาพ (3.c) และเสริมขีดความสามารถในการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ (3.d)  ตารางแสดงเป้าประสงค์ภายใต้ เป้าหมายที่ 3

SDG-4

เป้าหมายที่ 4 : สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all) ครอบคลุมการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของเด็กชายและเด็กหญิงในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย (4.2), ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (4.1), การเข้าถึงการศึกษาระดับเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่จ่ายได้และมีคุณภาพสำหรับชายและหญิงทุกคน (4.3), และในภาพรวมเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่สามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ (4.6), เน้นให้ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการศึกษา และการเข้าถึงการศึกษาของผู้พิการ ชนพื้นเมือง และกลุ่มเปราะบาง (4.5) นอกจากนี้เป้าหมายนี้ยังส่งเสริมให้เพิ่มจำนวนผู้ที่มีทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน และการเป็นผู้ประกอบการ (4.4), และเน้นให้ทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย (4.7) ในเชิงนโยบาย เป้าหมายนี้จะเน้นให้มีการยกระดับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการศึกษาให้อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และผู้มีเพศสภาวะหลากหลาย และสร้างสภาพแวดล้อมให้ปราศจากความรุนแรงต่อกลุ่มเหล่านี้ (4.a), ขยายโอกาสด้านทุนการศึกษาและการฝึกอบรมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ (4.b), และเพิ่มจำนวนครูที่มีคุณภาพผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ ตารางแสดงเป้าประสงค์ภายใต้ เป้าหมายที่ 4

SDG-15

(SDG 15) เป้าหมายที่ 15 :  ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Protect, restore and promote sustainable use of terrestrial ecosystems, sustainably manage forests, combat desertification, and halt and reverse land degradation and halt biodiversity loss) มีเป้าประสงค์ที่ครอบคลุมประเด็นหลายประเด็น อาทิ

ด้านระบบนิเวศบนบกและป่าไม้ – การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ระบบนิเวศบนบกและในน้ำจืดในแผ่นดินและการใช้บริการทางระบบนิเวศนั้นอย่างยั่งยืน (15.1) การบริหารจัดการ อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ทุกประเภท (15.2), ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย (Desertification) (15.3), การอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขาและความหลากหลายทางชีวภาพ (15.4), ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ – มีการแบ่งปันผลประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม (15.6), ลดความเสือมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของสัตว์ต่าง ๆ (15.5), ยุติการล่าและขนย้ายพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครองอย่างผิดกฎหมาย (15.7), การป้องกัน Invasive Species (15.8), ด้านที่เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ – บูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปในกระบวนการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศในการลดความยากจน และบัญชีด้านเศรษฐกิจ (15.9) การระดมทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลายมาเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (15.a) ระบบนิเวศบนบก ป่าไม้ และน้ำจืด (15.b) การเพิ่มขีดความสามารของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ (15.c) และความร่วมมือระดับโลกในการหยุดยั้งการค้าสัตว์และพืชคุ้มครองผิดกฎหมาย (15.c)

SDG-17

เป้าหมายที่ 17 :  ในโลกยุคปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นกว่าเดิม การพัฒนาในการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแบ่งปันความคิดและสนับสนุนนวัตกรรม การประสานงานด้านนโยบายจะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถจัดการหนี้ได้ เช่นเดียวกับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ประสบผลในการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายนี้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออก ซึ่งนี่คือส่วนประกอบทั้งหมดที่จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในหลักเกณฑ์สากลและระบบการค้าที่เสมอภาค ซึ่งเป็นสิ่งที่ยุติธรรม เปิดกว้างและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย