icon-คลินิกจริยธรรม

(ร่าง) ประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ข้อบังคับนี้ เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วย ประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด”

ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

“มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

“สภามหาวิทยาลัย” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

นายกสภามหาวิทยาลัย” หมายความว่า นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

“กรรมการสภามหาวิทยาลัย” หมายความว่า กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อธิการบดี” หมายความว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้ช่วยอธิการบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้า ส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ สำนัก หรือกอง

“บุคลากร” หมายความว่า บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

“บุคลากรสายวิชาการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พนักงานมหาวิทยาลัย ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วย พนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๒  พนักงานราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย พนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และ ลูกจ้างชั่วคราว    ที่มหาวิทยาลัยจ้างตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๕๒๗.๖/ว ๓๑ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเรื่อง การบริหารงานบุคคล ลูกจ้างชั่วคราว ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

“บุคลากรสายสนับสนุน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พนักงานมหาวิทยาลัย ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วย พนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๒  พนักงานราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย พนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และ ลูกจ้างชั่วคราว ที่มหาวิทยาลัยจ้างตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๕๒๗.๖/ว ๓๑ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเรื่อง      การบริหารงานบุคคล ลูกจ้างชั่วคราว ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งปฏิบัติงานด้านอำนวยการในการ  สนับสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสายวิชาการสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

“ผู้เรียน” หมายความว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และให้หมายความรวมถึงนักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดด้วย

“โรงเรียน” หมายความว่า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการจริยธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

“กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ให้นายกสภามหาวิทยาลัยรักษาการตามข้อบังคับนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้นายกสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยขี้ขาด และให้ถือเป็นที่สุด


หมวดที่ ๑ บททั่วไป


หมวดที่ ๒ จริยธรรมเฉพาะตำแหน่ง

ในกรณีที่สภามหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีจรรยาบรรณของวิชาชีพใดไว้ หรือมีจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ บุคลากรและผู้เรียนต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพที่กำหนดไว้ด้วย

(๑) ยึดมั่นและปฏิบัติตามปรัชญาและปณิธานของมหาวิทยาลัย

(๒) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(๓) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีและรับผิดชอบต่อหน้าที่

(๔) กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม

(๕) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและมีจิตสาธารณะ

(๖) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

(๗) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ

(๘) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

(๙) ไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่เป็นการรับจากการให้โดยธรรมจรรยาและการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับให้รับได้

ข้อ ๗ นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยจะต้องยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม ตามข้อ ๖ และพึงปฏิบัติตน ดังนี้

         (๑) เป็นผู้ชี้นำมหาวิทยาลัย ชุมชน และสังคมในทิศทางที่ถูกต้องและชอบธรรม
         (๒) ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ในการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย
         (๓) ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ยึดมั่นและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย และกรรมการ หรืออนุกรรมการที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง
         (๔) มีทัศนคติที่ดี ปราศจากอคติ
         (๕) ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ มุ่งมั่น ทุ่มเท อย่างเต็มกำลังความสามารถ และต้องอุทิศเวลาให้แก่มหาวิทยาลัย
         (๖) รักษาเกียรติภูมิของตนเองและมหาวิทยาลัย โดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอิสระและรับผิดชอบต่อสังคม
         (๗) รักษาไว้และปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับการประชุม และมติของที่ประชุมโดยเคร่งครัด
         (๘) ไม่รับของขวัญ ของกำนัล ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่ เป็นการรับจากการให้  โดยธรรมจรรยาและการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับให้รับได้
        (๙) ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง และไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับมหาวิทยาลัย

ข้อ ๘ ผู้บริหารจะต้องยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม ตามข้อ ๖ และพึงปฏิบัติตนดังนี้

(๑) เป็นผู้ชี้นำมหาวิทยาลัย ชุมชน และสังคมในทิศทางที่ถูกต้องและชอบธรรม

(๒) ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย

(๓) ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ยึดมั่นและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งผู้บริหาร

(๔) ปฏิบัติต่อบุคลากรและผู้เรียนด้วยความเสมอภาค ปราศจากอคติ และมีทัศนคติที่ดี

(๕) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรและผู้เรียนตั้งมั่นในความเป็นธรรม ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

(๖) รักษาเกียรติภูมิของตนเองและมหาวิทยาลัย โดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอิสระและรับผิดชอบ     ต่อสังคม

(๗) รักษาไว้และปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด

(๘) ไม่รับของขวัญ ของกำนัล ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่ เป็นการรับจากการให้     โดยธรรมจรรยา และการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับให้รับได้

(๙) ไม่ใช้มหาวิทยาลัยแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง และไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับมหาวิทยาลัย

(๑๐) อุทิศเวลาให้แก่มหาวิทยาลัย เสียสละ มุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มกำลังความสามารถ

(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ ผลกระทบที่มีต่อผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยและผู้เรียน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย

(๑๒) รักษาและบริหารจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งไปแสวงหาผลประโยชน์

(๑๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรและผู้เรียน ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม และประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัยโดยเคร่งครัด รวมถึงไม่ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม

ข้อ ๙ บุคลากรสายวิชาการจะต้องยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม ตามข้อ ๖ และพึงปฏิบัติตนดังนี้

(๑) ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ยึดมั่นและปฏิบัติตนตามปณิธาน นโยบาย และค่านิยมของมหาวิทยาลัย ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของผู้เรียนและบุคคลทั่วไป และรักษาเกียรติภูมิของตนและมหาวิทยาลัย โดยไม่กระทำการใด ๆ ที่เสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

(๒) มีทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ตามมาตรฐานภาระงานที่กำหนด คำนึงถึงผลประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

(๓) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้ หรือไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนจะต้องปฏิบัติ ควรชี้แจงเหตุผลหรือแนะนำให้ติดต่อยังหน่วยงานหรือบุคคลที่ตนทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ต่อไป

(๔) ไม่รับของขวัญ ของกำนัล ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่ เป็นการรับจากการให้  โดยธรรมจรรยา และการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับให้รับได้

(๕) พัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการ บุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และการวางตนให้เหมาะสมตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพ และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

(๖) มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานของตน ให้ความคิดเห็น ช่วยทำงาน และแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเสนอแนะในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนางาน ที่รับผิดชอบ

(๗) ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ

(๘) ให้เกียรติผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ละเว้นการใช้กริยา วาจาไม่สุภาพหรือสร้างความขัดแยัง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้ร่วมแรงร่วมใจในบรรดาผู้ร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และไม่ก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานอื่นโดยมิชอบ

(๙) ปฏิบัติตนเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้ร่วมงาน มีอิสระทางความคิดและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน รวมถึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์อันดี

(๑๐) อบรม สั่งสอน ให้ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียนด้วยความเสมอภาค ส่งเสริมและให้กำลังใจในการเรียน และอบรมสั่งสอนให้ผู้เรียนเป็นคนดี สร้างเสริมความรู้ที่ถูกต้องดีงามให้แก่ผู้เรียนอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นแบบอย่างทั้งทางวิชาการและจริยธรรมแก่ผู้เรียน

(๑๑) อุทิศเวลาและเสียสละให้กับงานสอน ตั้งใจ เอาใจใส่การสอนและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จริง    ทำได้จริง และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างเต็มความสามารถ

(๑๒) ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีวินัย ค่านิยม และทัศนคติที่ดีต่อสังคม ตลอดจนเคารพและปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และละเว้นการประพฤติที่ไม่เหมาะสมต่อผู้เรียน

(๑๓) พึงละเว้นการกระทำตนเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการทางสติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้เรียน       

(๑๔) พึงละเว้นการแสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากผู้เรียน ในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ใช้ให้ผู้เรียนกระทำการใดอันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

(๑๕) รับผิดชอบต่องานวิจัย ผู้ร่วมวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ มหาวิทยาลัยและสังคม

(๑๖) รับผิดชอบต่อสิ่งตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร  และสภาพแวดล้อมของการวิจัย

(๑๗) เคารพและไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น รวมทั้งใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนในทางที่ชอบ ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

(๑๘) ดูแล รักษา และใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดนโยบายประหยัดไม่ใช้หรือนำทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไปหาประโยชน์ส่วนตนหรือแก่ผู้อื่น

ข้อ ๑๐ บุคลากรสายสนับสนุนจะต้องยืดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม ตามข้อ ๖ และพึงปฏิบัติตน ดังนี้

(๑) ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ยึดมั่นและปฏิบัติตนตามปณิธาน นโยบายและค่านิยมของมหาวิทยาลัย ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป และรักษาเกียรติภูมิของตนและมหาวิทยาลัยโดยไม่กระทำการใด ๆ ที่เสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

(๒) มีทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ตามมาตรฐานภาระงานที่กำหนด คำนึงถึงผลประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

(๓) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้ หรือไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนจะต้องปฏิบัติ ควรชี้แจงเหตุผลหรือแนะนำ ให้ติดต่อยังหน่วยงานหรือบุคคลที่ตนทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ต่อไป

(๔) ไม่รับของขวัญ ของกำนัล ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่ เป็นการรับจากการให้    โดยธรรมจรรยา และการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับให้รับได้

(๕) พัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและงานสนับสนุนวิชาการ บุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และการวางตนให้เหมาะสมตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพ และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาชีพของตนให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

(๖) มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานของตน ให้ความคิดเห็นช่วยทำงานและแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเสนอแนะในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนางานที่รับผิดชอบ

(๗) ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ

(๘) ให้เกียรติผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน ละเว้นการใช้กริยา วาจาไม่สุภาพหรือสร้างความขัดแย้ง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน ให้ร่วมแรงร่วมใจในบรรดาผู้ร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่        เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และไม่ก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานอื่นโดยมิชอบ

(๙) ปฏิบัติตนเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้ร่วมงาน มีอิสระทางความคิด และยอมรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่น ให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน รวมถึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์อันดี

(๑๐) อุทิศตนในการปฏิบัติงานให้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่

(๑๑) ดูแล รักษา และใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดนโยบายประหยัด ไม่ใช้หรือนำทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไปหาประโยชน์ส่วนตนหรือแก่ผู้อื่น

(๑๒) ประพฤติตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะและมีจิตใจของผู้ให้บริการ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

(๑๓) ละเว้นการเปิดเผยความลับของผู้รับบริการที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ ในประการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เรียนหรือผู้รับบริการนั้น

(๑๔) มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อสังคม

(๑๕) เคารพและไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น รวมทั้งใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนในทางที่ชอบ ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

ข้อ ๑๑ ผู้เรียนจะต้องยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม ตามข้อ ๖ และพึงปฏิบัติตน ดังนี้

(๑) ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามปณิธาน นโยบาย และจริยวัตรของมหาวิทยาลัย

(๒) มีทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์ สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่

(๓) พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถ ในสาขาวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ของตนเอง

(๔) มีบุคลิกภาพและการวางตนที่เหมาะสมกับการเป็นผู้เรียน

(๕) ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด

(๖) ปฏิบัติตนให้เป็นผู้รอบรู้ กล้าคิด จิตอาสา

(๗) ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ปฏิบัติตนเป็นกัลยาณมิตรและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

(๘) เคารพและไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น รวมทั้งใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนในทางที่ชอบ ละเวันการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

(๙) ร่วมมือ ร่วมใจ พัฒนา และสร้างชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัย และไม่ประพฤติปฏิบัติตนอันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

(๑๐) ดูแล รักษา และใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอย่างประหยัดและคุ้มค่า รวมทั้งไม่นำทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น

(๑๑) ประพฤติตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม

(๑๒) มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อสังคม


หมวดที่ ๓ กลไกในการส่งเสริม ตรวจสอบ และบังคับใช้จริยธรรม

(๑) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย จำนวน ๑ คน  เป็นประธาน
(๒) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวน ๑ คน เป็นรองประธาน
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก จำนวน ๓ คน เป็นกรรมการ
(๔) รองอธิการบดีที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านงานบุคคล เป็นเลขานุการ
(๕) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
(๖) หัวหน้างานการเจ้าหน้าที่ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความในวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็น ไปตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด

ให้กรรมการตามข้อ ๑๒ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๓ ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนครบวาระให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง  และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน แต่ถ้าวาระของกรรมการ  เหลือไม่ถึง ๙๐ วัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ โดยให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ของกรรมการ

ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระและยังมิได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีกรรมการใหม่

ในกรณีที่กรรมการว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่

(๑) ส่งเสริม กำกับ ดูแล เผยแพร่ ปลูกฝัง ให้คำแนะนำ ควบคุม กำกับ ดูแลในการบังคับใช้จริยธรรมตามข้อบังคับนี้

(๒) สอบสวน พิจารณา และวินิจฉัยการกระทำความผิดจริยธรรมของผู้ถูกกล่าวหา หรือ  ถูกกล่าวโทษ

(๓) สอบสวน พิจารณา และวินิจฉัยการอุทธรณ์คำสั่งการกระทำความผิดจริยธรรม

(๔) ประเมินผลการปฏิบัติตามจริยธรรมตามข้อบังคับนี้ รวมทั้งเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับให้มีความเหมาะสม

(๕) แต่งตั้งบุคคล คณะทำงาน หรือคณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

(๖) ออกประกาศ หรือกำหนดแนวปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามจริยธรรมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้เท่าที่จำเป็นและเหมาะสม

(๗) ไม่เปิดเผยความลับที่ได้รับทราบจากการปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากคู่กรณี หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง หรือผู้ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล ในการดำเนินกระบวนการทางจริยธรรมตามข้อบังคับนี้หรือมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่มหาวิทยาลัยหรือสภามหาวิทยาลัยมอบหมาย

(๙) พิจารณาส่งเรื่องร้องเรียน ให้กับคณะกรรมการจรรยาบรรณกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าเป็นเรื่องร้องเรียน ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วย จรรยาบรรณบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ในการประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ห้ามมิให้กรรมการหรืออนุกรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่จะพิจารณาเข้าร่วมพิจารณาลงมติในเรื่องนั้น แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะให้ข้อเท็จจริงต่อที่ประชุม การประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้นำข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วย การประชุมสภามหาวิทยาลัยมาใช้บังคับโดยอนุโลม


หมวด ๔ ระบบการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม

เมื่อปรากฏว่านายกสภามหาวิทยาลัยหรือกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีการผ่าฝืนจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนี้ ผู้กล่าวหาต้องจัดทำคำกล่าวหาเป็นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานที่สามารถเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดจริยธรรมและยื่นต่อคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลว่ากระทำผิดจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนี้ ให้คณะกรรมการเสนอต่อกระทรวงต้นสังกัดเพื่อพิจารณาดำเนินการทางจริยธรรม

กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงมีมูลตามข้อกล่าวหาว่านายกสภามหาวิทยาลัยหรือกรรมการสภามหาวิทยาลัยกระทำผิดจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนี้ ให้คณะกรรมการ ยุติเรื่อง

เมื่อปรากฏว่าอธิการบดีถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดจริยธรรม ผู้กล่าวหาทำคำกล่าวหาเป็นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานที่สามารถเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดจริยธรรมและยื่นต่อคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวเบื้องต้นและรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง ต่อคณะกรรมการ

ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า มีมูลว่ากระทำผิดจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนี้ ให้สภามหาวิทยาลัยเสนอต่อกระทรวงต้นสังกัด เพื่อพิจารณาดำเนินการทางจริยธรรม กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้ว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงมีมูลตามข้อกล่าวหาว่าอธิการบดีกระทำผิดจริยธรรมตามประมวลจริยธรรม ให้คณะกรรมการยุติเรื่อง

เมื่อปรากฏว่าผู้บริหารที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีหรือบุคลากรถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดจริยธรรม ผู้กล่าวหาต้องจัดทำคำกล่าวหาเป็นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานที่สามารถเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดจริยธรรมและยื่นต่อคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวเบื้องต้นและรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่ออธิการบดี

(๑) กรณีที่พิจารณาแล้ว ปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นการกระทำความผิดทางวินัย  ให้อธิการบดี หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย หรือผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ดำเนินการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือสั่งให้บุคลากรผู้นั้นได้รับการพัฒนาทางด้านจริยธรรมตามที่อธิการบดีหรือผู้บังคับบัญชาชั้นต้น หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมายเห็นสมควร

(๒) กรณีที่พิจารณาแล้ว ปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดทางวินัย ให้อธิการบดีพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา

(๓) กรณีที่พิจารณาแล้ว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงมีมูลตามข้อกล่าวหาว่ามีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ให้อธิการบดี หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย หรือผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ดำเนินการสั่งยุติเรื่อง

เมื่อปรากฏว่าผู้เรียนถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดจริยธรรม ผู้กล่าวหาต้องจัดทำคำกล่าวหาเป็นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานที่สามารถเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดจริยธรรมยื่นต่อคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการพิจารณามอบหมายคณบดีหรือผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตที่กำกับดูแลผู้เรียน ตามแต่กรณี สอบสวนข้อเท็จจริงและรายงานผลการสอบสวนข้อเท็จจริงต่ออธิการบดี

กรณีที่คณบดีหรือผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต ตามแต่กรณี พิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลว่ากระทำผิดจริยธรรม ให้เสนออธิการบดีพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามที่ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติที่มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนกำหนด

กรณีที่คณบดีหรือผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต ตามแต่กรณี พิจารณาแล้วไม่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงมีมูล ว่ามีการผ่าฝืนประมวลจริยธรรม ให้สั่งยุติเรื่อง

กรณีที่กรรมการถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดจริยธรรม ให้กรรมการผู้นั้นยุติการปฏิบัติหน้าที่  ในฐานะกรรมการ เฉพาะในกระบวนการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงที่กรรมการผู้นั้นเป็นผู้ถูกกล่าวหา

         

ระยะเวลาในการดำเนินการพิจารณาตามหมวด ๔ ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาดำเนินการตามสมควรโดยเร็ว โดยคำนึงถึงความสุจริต โปร่งใสและตรวจสอบได้

(ร่าง) ประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๖

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จะดำเนินการเสนอ (ร่าง) ประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยต่อไป

สามารถแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ได้ตามแบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นด้านล่าง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม Privacy Policy.